วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เอกภพชาวฮินดู

เอกภพของชาวฮินดู
ชาวฮินดูโบราณเชื่อว่าเทพวิษณุผู้มีเศียรเป็นช้างคือผู้สร้างโลก จึงอธิบายเอกภพว่า มีช้าง 4 เชือก ยืนแบกโลก ไว้อยู่บนหลังเต่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เชื่อว่าเป็นเพราะช้างขยับตัว เอกภพยังถูกล้อมรอบ ด้วยงูเห่าที่ขดหัว จรดหางเป็นวงกลม ซึ่งงูเป็นสัญลักษณ์แทนน้ำ เอกภพของชาวอิยิปต์
ชาวอิยิปต์โบราณอธิบายเอกภพด้วยโลกซึ่งแทนด้วยเทพชื่อ เจ๊บ (Geb) ผู้มีใบไม้สีเขียวคลุมร่างนอนราบ อยู่เบื้องล่าง มีเทพธิดาแห่งท้องฟ้าชื่อ นู้ด (Nut) ผู้ประดับร่างกายด้วยดวงดาวยืนโอบโค้งอยู่ โดยมีเทพ แห่งอากาศชื่อ ชู (Shu) ยกแขนทั้ง สองค้ำอยู่ระหว่างเทพเจ๊บและนู้ด ส่วนเทพรา (Ra) แล่นเรือเคลื่อน ข้ามท้องฟ้าขึ้นและตกอยู่ทุกวัน เอกภพของชาวกรีก
ชาวกรีกโบราณ เชื่อว่า เอกภพเป็นวงกลมกลวงใสขนาดมหึมา มีดาวประดับอยู่รอบทรงกลม โลกเป็นแผ่นกลม ลอยอยู่ในน้ำ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์เคลื่อนขึ้นและตกจากแผ่นน้ำอยู่ทุกวัน
เอกภพของชาวยุโรปยุคกลาง (พ.ศ.2000) ภาพแกะไม้อธิบายเอกภพคือทรงกลมกลวงใส ประกอบด้วยดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และเหล่า ดาวเคราะห์ทั้งหลาย มีธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก่อเกิดกลไกธรรมชาติของสรรพสิ่งบนโลก
เอกภพของชาวกรีก (พ.ศ.159-218)
อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายเอกภพ เป็นรูปทรงกลมซ้อนกัน ทรงกลมนอกสุด สรวงสรรค์ชั้นเทพเจ้า ห่อหุ้มทรงกลมอีก 10 ชั้น
ชั้น 9-10 ชั้นของธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก่อพลังหมุนเวียนให้สรรพสิ่งบนโลกเคลื่อนไหวเติบโต
ชั้น 8 ชั้นของดาวฤกษ์ประดับนิ่งอยู่
ชั้น 5-7 ชั้นของดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ตามลำดับ
ชั้น 4 ชั้นของดวงอาทิตย์
ชั้น 2-3 ชั้นของดาวพุธและดาวศุกร์ตามลำดับ
ชั้น 1 ชั้นของดวงจันทร์ ชั้นในสุด
โลก ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ดวงดาวกับชีวิตมนุษย์ ผู้คนแต่เก่าก่อนเชื่อว่าโลก อยู่เป็นศูนย์กลางของเอกภพ ประกอบด้วยธาตุสำคัญทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีกลุ่ม ดาวจักรราศี 12 กลุ่ม เรียงรายโดยรอบท้องฟ้า เชื่อว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์และดาวเคราะห์ เคลื่อนที่เปลี่ยน ตำแหน่ง ไปในกลุ่มดาวจักรราศี มีผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนและสรรพสิ่งบนโลก
โลกเป็นศูนย์กลาง (Geocentric Universe) คลาวเดียส พโทเลมี (พ.ศ.545)นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกอธิบายว่า โลกเป็นศูนย์กลาง ของทรงกลม เอกภพ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์ อยู่ห่างออกไป โดยลำดับ ส่วนดาวฤกษ์ติดอยู่บนทรงกลมใหญ่นอกสุด เทหวัตถุ ฟากฟ้าเหล่านี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่อยู่รอบโลกทั้งสิ้น
ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (Heliocentric Universe)นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (พ.ศ.2016-2086)นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์เสนอทฤษฏีใหม่ของเอกภพว่า ดวงอาทิตย์ อยู่เป็นศูนย์กลาง โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ในหลาย ๆ ดวง ที่ต่างก็โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โดยที่ดวงจันทร์ โคจรอยู่รอบโลก
ดาราศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชวิชาการดาราศาสตร์ เริ่มเกิดขึ้นในประเทศไทย ในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ด้วยความสนพระทัยในวิชาการนี้จึงทำให้ สัมพันธภาพระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศส เจริญแน่นแฟ้น ถึงขั้นแลก เปลี่ยนคณะทูตระหว่างกัน ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ของยุโรปและเอเชีย
พระที่นั่งไกรสรสีหราช พระที่นั่งในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกลางทะเลชุบศร นิยมเรียกว่า "พระที่นั่งเย็น" สถานที่ทอดพระเนตร จันทรุปราคาเต็มดวง 11 ธันวาคม 2228 และสุริยุปราคาเต็มดวง 30 เมษายน 2231
หอดูดาววัดสันเปาโลหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทานที่ดิน ให้บาทหลวงชาวฝรั่งเศสสร้างโบสถ์ฝรั่ง อาคารที่พักและหอดูดาว 1 หลัง หอดูดาว รูปทรงแปดเหลี่ยม ตามสถาปัตกรรมฝร่งเศส ยุคพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ปัจจุบัน เหลือ ซากอาคาร เพียงผนังสูง 2 ด้าน ณ วัดสันปาโล กลางเมืองลพบุรี ปัจจุบัน
ดาราศาสตร์กับชีวิต
สโตนเฮนจ์ อนุสาวรีย์ก้อนหินอายุราว 500 ปี อยู่ในประเทศอังกฤษ สัณนิษฐานว่า เป็นหอดูดาว แสดงตำแหน่งการเคลื่อนที่ ของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ณ ขอบฟ้าของแต่ละวัน ในรอบ 1 ปี จึงสามารถ ทำนายการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้
ปิรามิดใหญ่แห่งเมืองกิซาปิรามิดใหญ่อายุราว 4,600 ปี ชาวอิยิปต์สร้างขึ้นเพื่อ เป็นสุสาน ฝังพระศพของกษัตริย์ฟาโรห์ และเป็นเครื่อง คำนวณตำแหน่ง ของดาวด้วย
เครื่องวัดมุมดาวของชาวจีนเครื่องมือดาราศาสตร์เก่าแก่ ตั้งอยู่ที่หอดูดาวกรุงปักกิ่ง ประดิษฐ์ขึ้น ในปี พ.ศ.2217
กงล้อมายาชาวอินเดียนแดงคิดทำกงล้อก้อนหิน อายุราว 500 ปี เพื่อแสดง ตำแหน่งของ ดวงอาทิตย์ฃึ้น และตก ในสำคัญทาง ดาราศาสตร์ แนวกงล้อนี้ยังชี้ตรงไปยังตำแหน่งของดาวฤกษ์สว่าง 3 ดวง คือ อัลดิบาแรน ไรเจล และซิริอุส
แผนที่ดาวของชาวอินเดียนแดงชาวอินแดงเผ่าสกิดีในรัฐเนบราสกา สหรัฐอเมริกา สังเกตุท้องฟ้า และคิดทำแผนที่ดาวขึ้น จากหนังกวาง ริมขอบแผนที่ดาว มีรูเล็ก ๆ เจาะไว้โดยรอบ เชื่อว่าสอาจเป็นถุงใส่ ก้อนอุกกาบาต ในพิธีกรรม ชำระบาปมาก่อน